วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขนมหัวล้าน

 

 

 

 

 

 ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้าน[ภาคใต้]]โดยขนาดใช้วิธีการทำแบบ ขนมต้ม

 

 

ทองหยิบ


ทองหยิบ
ทองหยิบ (โปรตุเกสtrouxos das caldasตรูซูช ดาช กัลดัช หรือ broinhas; โบรอียาส) เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงตีจนฟู ก่อนนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเพื่อทำให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาจับจีบ ใส่ถ้วยตะไล
ปัจจุบัน มักถูกนำมาเป็นของหวานในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

ข้าวหลาม

 

ข้าวหลาม เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อนคนไทยจะใช้กระบอกไม้ไผ่ในการหุงข้าวด้วย ข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เชื่อมกันด้วยเยื่อไผ่ทำให้เป็นรูปทรงสวยงาม แต่ในปัจจุบันนี้ คนไทยนิยมนำมารับประทานเป็นขนมหวาน โดยมีส่วนผสมคือ ข้าวเหนียว กะทิ และบางตำราจะมีการใส่ถั่วดำด้วย

แกงเผ็ด

 

แกงเผ็ด หรืออาจเรียกว่า แกงแดง ก็ได้ เพราะพริกแกงทำจากพริกแดงเป็นหลัก โดยจะมีส่วนผสมของกะทิเป็นหลักในการแกง นิยมที่จะแกงกับเนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อหมู และใส่หน่อไม้ มะเขือเปาะ ใบโหระพา เป็นหนึ่งในแกงยอดนิยมของคนไทย

ผัดขี้เมา

 

ผัดขี้เมา เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย และ ลาว โดยอาหารชนิดนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานอาหารแบบไทยเข้ากับอาหารของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและลาว (หรือ ชาวไทยเชื้อสายจีน) คำว่า ขี้เมา สันนิษฐานว่า เกิดจากผู้ที่ชอบดื่มสุรามักจะหากับแกล้มจากของเหลือที่มีในตู้เย็น พบผักอะไรก็เติมลงไปได้ ไม่ใคร่จะมีสูตรแน่นอนตายตัว แต่ทำออกมาแล้วอร่อย จึงเป็นที่นิยมต่อ ๆ กันมา

ผัดขี้เมาเป็นผัดก๋วยเตี๋ยวกับซอสถั่วเหลือง น้ำปลา กระเทียม เนื้อชนิดต่าง ๆ และในบางครั้งอาจจะใส่เต้าหู้ นอกจากนี้ยังใส่พริก ถั่ว และใบกะเพราหรือใบโหระพา ผัดขี้เมาได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนนำมาทำกับวัตถุดิบชนิดใหม่ ๆ ในบางครั้งผู้ปรุงอาจจะใช้สัตว์ทะเลและพริกไทยอ่อน นอกจากนี้ ยังมีการผัดขี้เมาโดยไม่ใส่เส้น และการผัดโดยใส่เส้นสปาเกตตี ซึ่งเป็นเส้นแบบอิตาลี ผัดขี้เมาจึงเป็นอาหารเผ็ดต่างจากเมื่อครั้งชาวจีนเพิ่งเข้ามาพำนักในประเทศไทยและลาว

แกงเหลือง

 

แกงเหลือง เป็นอาหารชนิดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ในท้องถิ่นเรียกว่า แกงส้ม ซึ่งมีความแตกต่างจากแกงส้มของไทย ทั้งในด้านรสชาติ เครื่องปรุง วิธีการปรุง กลิ่น และสีสันของน้ำแกงที่ปรุงเสร็จแล้ว

ส่วนวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำเป็นแกงเหลืองนั้นคล้ายกับแกงส้มของไทย เช่น ปลา กุ้ง หรือ หมูสามชั้น และใช้ผักต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและรสชาติ หรือบางครั้งใช้หน่อไม้ดอง

พระรามลงสรง

 

 

พระรามลงสรง อาหารไทยโบราณชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นอาหารที่หารับประทานได้ยาก

พระรามลงทรง ดัดแปลงมาจากอาหารแต้จิ๋วที่ชื่อ "ซาแต้ปึ้ง" เชื่อว่าเข้ามาในประเทศไทยในช่วงอาณาจักรธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325)

พระรามลงสรงเป็นอาหารจานเดียว ประกอบไปด้วยข้าวสวยหุง โปะหน้าด้วยผักบุ้งลวกสุกและเนื้อหมูหั่นชิ้น จากนั้นราดด้วยน้ำจิ้มสะเต๊ะเข้มข้นที่ทำมาจากถั่วลิสงป่น และราดน้ำพริกเผาลงไป และบีบน้ำมะนาวลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย

โดยผักที่ใช้นั้นอาจใช้ผักบุ้งหรือผักคะน้าก็ได้ เนื้อหมูก็สามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อปลา เช่น ปลากะพง หรือเนื้อกุ้งแทนได้ รวมถึงใช้เส้นหมี่แทนข้าวสวยได้

เหตุที่ได้ชื่อว่า "พระรามลงสรง" นั้น เพราะสีเขียวของผักบุ้งเหมือนสีผิวของพระรามในวรรณคดีไทย และการที่นำผักบุ้งลงไปลวกในน้ำเดือด เหมือนกับการที่พระรามลงสรงน้ำ

ขนมปาด

 

ขนมปาด เป็นขนมชนิดหนึ่งของคนล้านนาที่ทำมาจากแป้งข้าวจ้าวกวนกับน้ำอ้อย โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือ

กระยาสารท

 

กระยาสารท.jpg

 

กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่

 

 

 

 

 

กล้ยวตาก

 

 

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 

วิธีทำต้มโคล้งปลากรอบ

 

 
 
 
 

วิธีทำมันเชื่อม

 

ขนมกล้วย

 

 

ขนมกล้วย ทำจากกล้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ หรือมะพร้าวขูด และส่วนผสมอื่น ๆ แล้วนำส่วนผสมใส่ในถ้วยตะไลเล็ก ๆ หรือห่อด้วยใบตอง จากนั้น นำไปนึ่งก่อนโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด ขนมกล้วยมีรสหอมหวานของกล้วยที่กำลังสุกงอมผสมกับความความหวานมันของกะทิ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 

วิธีทำครองแครงกรอบ

 
 
 
 

ขนมตาล

 

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล

ขนมอาละหว่า

 

ขนมอาละหว่าเป็นชื่อขนมพื้นเมืองไทยใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิและน้ำตาลอ้อย ถือเป็นขนมพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ขนมอาเก๊าะ

 

ขนมอาเก๊าะเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ที่ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาลและกะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ เพราะหยอดแป้งลงในพิมพ์ขนมเหมือนกัน แต่พิมพ์ของขนมอาเก๊าะใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการผิงไฟบนล่าง นิยิมรับประทานในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม

 

วิธีทำขนมดอกจอก


ข้าวโป่ง

 

ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก

กลีบลำดวน

 

 

 

กลีบลำดวน ทำมาจากแป้งสาลี เป็นขนมมงคลในงานแต่งงาน ได้ชื่อนี้เพราะลักษณะคล้ายดอกลำดวน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาคู


 


สาคู เป็นชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยสาคูเม็ดเล็กนวดน้ำร้อนให้ดิบ ๆ สุก ๆ ปั้นเป็นก้อน มีเนื้อหมูเป็นต้นสับผัดกับเครื่องปรุงทำเป็นไส้แล้วนึ่ง













 

ขนมปลากริมไข่เต่า

 

ขนมปลากริมไข่เต่า เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งนำขนมปลากริม และขนมไข่เต่ามารับประทานด้วยกัน ให้รสหวานจากขนมปลากริม และรสเค็มจากขนมไข่เต่าผสมรวมกัน

ขนมฟักเขียวกวน

 

ขนมฟักเขียวกวนเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมใช้ในงานทำบุญเพราะเชื่อว่าฟักเป็นพืชที่ให้ความเย็น ลักษณะของขนมตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ขนาดพอคำ มีความเหนียว รสชาติหวานมัน โรยถั่วลิสงคั่วหั่นฝอย การทำขนมชนิดนี้ เริ่มจากนำฟักเขียวแก่มาขูดเอาแต่เนื้อแล้วบีบน้ำออก ใส่เนื้อฟักลงในกระทะทอง กวนกับกะทิ น้ำตาลปี๊บ และแป้งข้าวเจ้า จนกว่าขนมจะล่อน ไม่ติดกระทะ แล้วเทใส่ถาด โดรยด้วยถั่ว ขนมที่คล้ายกันนี้มีทำที่จังหวัดจันทบุรีด้วยแต่เรียกขนมฟัก

มะม่วงกวน

 

 

 
 

มะม่วงกวน ถือเป็นขนมทานเล่นชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ค่อนข้างใส สีออกเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง มีความเหนียวพอสมควร ทำเป็นรูปวงกลม ดอกไม้ หรือ ม้วนเป็นเกลียว เป็นต้น การทำมะม่วงกวนถือเป็นหนึ่งในวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หลักการถนอนอาหารโดยการกวนนั้นมีหลักดังนี้คือ นำเอาผลไม้ที่ สุกแล้วมาเคี่ยวผสมรวมกับน้ำตาล โดยอาศัยความร้อนเป็นหลัก ซึ่งในการทำมะม่วงกวนนั้น ถือเป็นการกวนแบบแห้งที่ต้องใช้น้ำตาลในอัตราส่วนมากๆนั่นเอง รสชาดของมะม่วงกวนโดยส่วนใหญ่มักมีรสหวาน หวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด โดยเคล็ดลับในการทำมะม่วงกวนให้น่ารับประทาน คือการเลือกสรรมะม่วงที่ไม่สุกจนเกินไป และแนะนำให้ใช้มะม่วงแก้วซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในท้องตลาด หรือสามารถนำเอามะม่วงหลายๆชนิดมาผสมรวมกันก็ได้ ในความเป็นจริง วิธีการทำมะม่วงกวนนั้นถือว่าไม่มีหลักเกณฑ์หรืออัตราส่วนของส่วนผสมต่างๆที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ ดัดแปลงของแต่ละคน เพื่อให้ได้มะม่วงกวนในรสชาดตามที่ต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขนมอาลัว

 

 

 

 

 

 

ขนมอาลัว เป็นขนมหวานที่ทำจากแป้ง ผิวด้านนอกจะเป็นน้ำตาลแข็ง ด้านในเป็นแป้งหนืด มักทำเป็นอันเล็กๆ มีหลายสี มีกลิ่นหอมหวาน ชื่ออาลัวมีความหมายว่าเสน่ห์ดึงดูดใจ อาลัวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกโดยคุณท้าวทองกีบม้า หรือ เลดี้ฮอร์ เดอควีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ซึ่งเป็นชาวโปรตุเกสที่เข้ามารับราชการในราชสำนักในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมอาลัวยังแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ อาลัวชาววัง และ อาลัวจิ๋ว อาลัวชาววังมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนผสมของกะทิมากกว่าอาลัวจิ๋ว

 

 

 

 

 

 

ขนมกง

 

ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา คือขนมหวานพื้นเมืองชนิดหนึ่งของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว โดยถือเป็นหนึ่งในขนมทั้งห้าชนิดที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในประเพณีสารทเดือนสิบมุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับของบรรพบุรุษ

ขนมเทียน

 

ขนมเทียน หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว

ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย

ขนมจาก





 
 

ขนมจาก เป็นขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการและบริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลอื่นๆ ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนมากนิยมใช้ข้าวเหนียวดำ มะพร้าวทึนทึกขูดหยาบๆ น้ำตาลมะพร้าว และเกลือเล็กน้อย ที่เรียกว่าขนมจาก เพราะเป็นขนมที่ห่อด้วยใบจากสด ที่ได้จากต้นจากซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์มชนิด ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าชายเลนและบริเวณริมน้ำเค็ม ขนมนี้ทำให้สุกด้วยการย่างไฟคล้ายการเผาข้าวหลามแต่ใช้ความร้อนน้อยกว่า










 

ข้าวเม่า





ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา  ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย












 

โจ๊ก

 

โจ๊ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว

ไข่ยัดไส้






ไข่ยัดไส้ เป็นอาหารคาวประเภทหนึ่งซึ่งใช้ ไข่ เป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งนี้จะใช้ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ลักษณะของไข่ยัดไส้ ประกอบด้วยส่วนหลักสองส่วนคือ ส่วนห่อหุ้มด้านนอกที่ทำจากไข่ และไส้ใน มีรสชาติ หวาน เปรี้ยว เป็นหลักและมีรสเค็มเล็กน้อย มีสัมผัสการทานที่กรุบกรอบจากใส้ใน และนุ่มนวลจากไข่ที่หุ้มอยู่ภายนอก










 

ราดหน้า

 

ราดหน้า เป็นก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง ที่ทำโดยการใช้เส้นลงไปผัดกับน้ำมันอ่อน ๆ ก่อน แล้วพักไว้ น้ำที่ใช้ราด เป็นน้ำต้มกระดูกผสมกับแป้งมันมีความข้นเหนียว เนื้อสัตว์นิยมใช้ เนื้อหมู และ กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ซึ่งถ้าเป็นเนื้อหมูจะนิยมหมักกับกระเทียมก่อน เพื่อให้เหนียวนุ่ม ผักนิยมใช้ ผักคะน้า หรือจะใช้ผักอย่างอื่น เช่น ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดขาว ก็ได้

เส้นที่ใช้ทำราดหน้า มีหลายเส้น โดยมาก หากเป็นเส้นใหญ่ จะผัดกับน้ำมันและซีอิ๊วดำก่อน นอกจากนี้ยังมีหมี่ขาว หมี่เหลือง ซึ่งโดยมากจะเป็นเส้นทอดกรอบ นอกจากนี้แล้ว ราดหน้าบางครั้งยังสามารถใส่ไข่ลงไปได้ด้วย อาจจะผสมลงไปในน้ำราดหน้า หรือทอดแยกออกมาโปะหน้าต่างหากแบบไข่เจียวหรือไข่ดาว ก็ได้

ขนมจีน







ขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ รับประทานกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น อาหารชนิดนี้ ภาษาเหนือเรียก "ขนมเส้น" และภาษาอีสานเรียก "ข้าวปุ้น"













ขนมลา






ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า

ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก










 

 

 

ขนมผิง

 

ขนมผิง เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปอบจนกรอบ มีสีเหลืองนวล

ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดยหญิงสาวที่มีชื่อว่า มารี กีมาร์ หรือท้าวทองกีบม้า ลูกครึ่ง โปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่นานนักนางมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับเธอและสาวๆเหล่านั้นก็ได้นำสูตรขนมออกมาถ่ายทอดต่อไป

ทองม้วน

 

ทองม้วน เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ

ฝอยทอง

 

ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า อูเอโบอิลาโด , ญี่ปุ่นว่า เครังโซเม็ง กัมพูชาว่า วาวี และมาเลเซียว่า จาลามัซ

ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

 

วิธีทำหมูย่างนํ้าตก

 

ซุปหน่อไม้



หน่อไม้ (อังกฤษ: Bamboo shoot, Bamboo sprout) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหลาย













 

ลาบ

 

ลาบ เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสานและภาคเหนือ(รวมถึงประเทศลาวและสิบสองปันนา) โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง ซึ่งเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อปลา เนื้อหมู และเนื้อนก นอกจากนี้ยังสามารถลาบสัตว์จำพวก กวาง เช่น ละมั่ง กระจง เก้ง หรือแม้แต่บึ้ง [1]ก็นำมาลาบได้เช่นกัน ลาบนิยมกินคู่กับข้าวเหนียว

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

น้ำเต้าหู้

 

น้ำเต้าหู้ หรือ นมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำจากการบดถั่วเหลืองและนำไปต้มกรองจนเจือจางลง อาจปรุงด้วยน้ำตาลและอื่น ๆ รับประทานได้ทันที นิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าคู่กับปาท่องโก๋ หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องโดยใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่น ๆ ตามชอบ

กะหลํ่าผัดนํ้าปลา



 

วิธีทำกะหลํ่าผัดนํ้าปลา

 
 
 
 

 

วิธีทำยำวุ้นเส้น

 
 

กระเจี๊ยบแดง

 
 

กระเจี๊ยบแดง ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยวเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน

การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด

 

 

 


 

วิธีทำทอดมันกุ้ง

 
 

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กะละแม

กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม [1] ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล[2]

กะละแมมี 2 ชนิด แบ่งตามวิธีการกวนคือ [2]
  • กะละแมเม็ด (ดั้งเดิม) กะละแมแบบนี้สีเข้ม ขนมอาจจะมีลักษณะเป็นจุดๆแทรกอยู่
  • กะละแมแป้ง แต่ใส่แป้งข้าวเหนียวแทนเม็ดข้าวเหนียว กะละแมที่กวนขายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกะละแมแป้งเพราะทำง่ายกว่า

เมี่ยงมะม่วง

 เมี่ยงมะม่วงผมเคยกินเมี่ยงมาหลายประเภท ส่วนใหญ่ก็เป็นเมี่ยงที่อร่อยและผมชอบมาก เช่นเมี่ยงคำ เมี่ยงหอยแครง นอกจากจะอร่อยแล้วยังอุดมไปด้วยสมุนไพรหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพด้วย วันนี้นั่งดูอาหารแปลกๆ ในอินเตอร์เน็ต เห็นเมนูเมี่ยงมะม่วง ดูแล้วน่ารับประทานมาก ปกติมะม่วงเปรี้ยวเป็นของโปรดผมอยู่แล้ว ช่วงนี้มะม่วงใกล้ๆ บ้าน ก็เริ่มออกดอกติดลูกอ่อนเต็มต้นเลย อีกไม่กี่วันก็สามารถเก็บกินได้แล้ว มะม่วงเปรี้ยวเป็นผลไม้ที่เมื่อก่อนแทบไม่มีราคาแต่วันนี้บอกได้เลยว่าโคตรแพง ปีที่แล้วจำได้ว่ามะม่วงเปรี้ยว (ที่บ้านผมเรียกมะม่วงเบา)กิโลกรัมละเฉียดร้อยบาท ผมเองก็เพาะเม็ดมะม่วงไว้ ได้ต้นอ่อนหลายต้น ปีนี้กะว่าพอฝนเริ่มตกซักหน่อยจะเอาไปปลูกรอบๆ บ้านเพิ่มอีก  มะม่วงเปรี้ยวเอามาทานคู่กับน้ำปลาหวานก็อร่อย ใส่ยำก็เยี่ยม วันนี้ได้สูตรเอามาทำเมี่ยงมะม่วง ซึ่งเหมาะที่จะเอามาทานเล่นเป็นของว่างอย่างยิ่ง ไว้ค่อยลองทำดู เมื่อมะม่วงข้างบ้านได้ขนาดแล้ว ค่อยมาดูกันว่าจะออกมาอย่างไรบ้าง เมี่ยงมะม่วง มีวิธีทำดังนี้


ส่วนประกอบและวิธีการทำ เมี่ยงมะม่วง

1 มะม่วงเปรี้ยวฝานเป็นแผ่นบางๆ 3 ลูก  เอาไว้ห่อเครื่องเคียง (เหมือนใช้ใบชะพลูห่อเมี่ยงคำ)

2 เตรียม มะพร้าวขูด(เอาแต่หน้ามะพร้าวสีขาว)  1.5 ถ้วยตวง , ถั่วลิสงคั่วบดหยาบ 1/2 ถ้วยตวง , ขิงแก่ซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ , หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ , พริกขี้หนูซอย 10เม็ด , ใบมะกรูดซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ , น้ำตาลปี๊บ 2.5 ช้อนโต๊ะ , เกลือป่น ปลายช้อนชา

3 นำมะพร้าวขูดคั่วในกระทะใช้ไฟให้อ่อนที่สุด คั่วจนมะพร้าวสุกกลายเป็นสีเหลืองทอง แล้วค่อยใส่เกลือและน้ำตาลปี๊บลงไป ผัดให้เข้ากันจนน้ำตาลปี๊บละลายเคลือบมะพร้าวจนแห้งดีแล้ว ก็ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงลงไป ผัดเบาๆ พอเข้ากัน ก็ยกขึ้นจากเตา พักไว้ให้เย็นก่อน

4 เมื่อส่วนผสมของมะพร้าวคั่วเย็นดีแล้ว ก็ใส่ใบมะกรูด หอมแดง พริกขี้หนูลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกที เวลารับประทานก็ให้ม้วนแผ่นมะม่วงเปรี้ยวแล้วตักส่วนผสมใส่ลงไป รับประทานได้ทันที

เทคนิคการทำ เมี่ยงมะม่วง
1 ที่ต้องรอให้ส่วนผสมเย็นตัวก่อนแล้วค่อยใส่ ใบมะกรูด หอมแดง และพริกขี้หนู ก็คงเพราะไม่ต้องการให้ความร้อนที่สะสมอยู่ทำให้ใบมะกรูด หอมแดงและพริกขี้หนูมีสีตายนึ่ง(คล้ำซีด)
2 เมนูนี้สามารถทำเป็นของหวางสุดหรูหราได้ โดยการวางแผ่นมะม่วงในถ้วยแก้วใบเล็กๆ แล้ววางส่วนผสมของเมี่ยงลงไปบนแผ่นมะม่วง จะใช้ช้อนส้อมเล็กๆหรือไม้จิ้มฟันก็ได้เสียบไว้ให้หยิบกินได้สะดวก สามารถเอาขึ้นเป็นเมนูรับแขกงานจัดเลี้ยงหรูหราได้เลย