วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขนมหัวล้าน

 

 

 

 

 

 ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้าน[ภาคใต้]]โดยขนาดใช้วิธีการทำแบบ ขนมต้ม

 

 

ทองหยิบ


ทองหยิบ
ทองหยิบ (โปรตุเกสtrouxos das caldasตรูซูช ดาช กัลดัช หรือ broinhas; โบรอียาส) เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงตีจนฟู ก่อนนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเพื่อทำให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาจับจีบ ใส่ถ้วยตะไล
ปัจจุบัน มักถูกนำมาเป็นของหวานในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

ข้าวหลาม

 

ข้าวหลาม เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อนคนไทยจะใช้กระบอกไม้ไผ่ในการหุงข้าวด้วย ข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เชื่อมกันด้วยเยื่อไผ่ทำให้เป็นรูปทรงสวยงาม แต่ในปัจจุบันนี้ คนไทยนิยมนำมารับประทานเป็นขนมหวาน โดยมีส่วนผสมคือ ข้าวเหนียว กะทิ และบางตำราจะมีการใส่ถั่วดำด้วย

แกงเผ็ด

 

แกงเผ็ด หรืออาจเรียกว่า แกงแดง ก็ได้ เพราะพริกแกงทำจากพริกแดงเป็นหลัก โดยจะมีส่วนผสมของกะทิเป็นหลักในการแกง นิยมที่จะแกงกับเนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อหมู และใส่หน่อไม้ มะเขือเปาะ ใบโหระพา เป็นหนึ่งในแกงยอดนิยมของคนไทย

ผัดขี้เมา

 

ผัดขี้เมา เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย และ ลาว โดยอาหารชนิดนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานอาหารแบบไทยเข้ากับอาหารของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและลาว (หรือ ชาวไทยเชื้อสายจีน) คำว่า ขี้เมา สันนิษฐานว่า เกิดจากผู้ที่ชอบดื่มสุรามักจะหากับแกล้มจากของเหลือที่มีในตู้เย็น พบผักอะไรก็เติมลงไปได้ ไม่ใคร่จะมีสูตรแน่นอนตายตัว แต่ทำออกมาแล้วอร่อย จึงเป็นที่นิยมต่อ ๆ กันมา

ผัดขี้เมาเป็นผัดก๋วยเตี๋ยวกับซอสถั่วเหลือง น้ำปลา กระเทียม เนื้อชนิดต่าง ๆ และในบางครั้งอาจจะใส่เต้าหู้ นอกจากนี้ยังใส่พริก ถั่ว และใบกะเพราหรือใบโหระพา ผัดขี้เมาได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนนำมาทำกับวัตถุดิบชนิดใหม่ ๆ ในบางครั้งผู้ปรุงอาจจะใช้สัตว์ทะเลและพริกไทยอ่อน นอกจากนี้ ยังมีการผัดขี้เมาโดยไม่ใส่เส้น และการผัดโดยใส่เส้นสปาเกตตี ซึ่งเป็นเส้นแบบอิตาลี ผัดขี้เมาจึงเป็นอาหารเผ็ดต่างจากเมื่อครั้งชาวจีนเพิ่งเข้ามาพำนักในประเทศไทยและลาว

แกงเหลือง

 

แกงเหลือง เป็นอาหารชนิดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ในท้องถิ่นเรียกว่า แกงส้ม ซึ่งมีความแตกต่างจากแกงส้มของไทย ทั้งในด้านรสชาติ เครื่องปรุง วิธีการปรุง กลิ่น และสีสันของน้ำแกงที่ปรุงเสร็จแล้ว

ส่วนวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำเป็นแกงเหลืองนั้นคล้ายกับแกงส้มของไทย เช่น ปลา กุ้ง หรือ หมูสามชั้น และใช้ผักต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและรสชาติ หรือบางครั้งใช้หน่อไม้ดอง

พระรามลงสรง

 

 

พระรามลงสรง อาหารไทยโบราณชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นอาหารที่หารับประทานได้ยาก

พระรามลงทรง ดัดแปลงมาจากอาหารแต้จิ๋วที่ชื่อ "ซาแต้ปึ้ง" เชื่อว่าเข้ามาในประเทศไทยในช่วงอาณาจักรธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325)

พระรามลงสรงเป็นอาหารจานเดียว ประกอบไปด้วยข้าวสวยหุง โปะหน้าด้วยผักบุ้งลวกสุกและเนื้อหมูหั่นชิ้น จากนั้นราดด้วยน้ำจิ้มสะเต๊ะเข้มข้นที่ทำมาจากถั่วลิสงป่น และราดน้ำพริกเผาลงไป และบีบน้ำมะนาวลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย

โดยผักที่ใช้นั้นอาจใช้ผักบุ้งหรือผักคะน้าก็ได้ เนื้อหมูก็สามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อปลา เช่น ปลากะพง หรือเนื้อกุ้งแทนได้ รวมถึงใช้เส้นหมี่แทนข้าวสวยได้

เหตุที่ได้ชื่อว่า "พระรามลงสรง" นั้น เพราะสีเขียวของผักบุ้งเหมือนสีผิวของพระรามในวรรณคดีไทย และการที่นำผักบุ้งลงไปลวกในน้ำเดือด เหมือนกับการที่พระรามลงสรงน้ำ